หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
นายสมอ พรมหนู
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน
องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน
อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี
 
 
 
 
นายสมอ พรมหนู
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน
สายด่วนนายก : 081-571-7865
 
 
 
 
 
อำนาจหน้าที่
 
 



 
อำนาจหน้าที่  
 

อํานาจหน้าที่ของ อบต.
       อบต. มีหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 และ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552)
1. พัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (มาตรา 66)
2. มีหน้าที่ต้องทำตามมาตรา 67 ดังนี้
       (1) จัดให้มีและบำรุงทางน้ำและทางบก
       (2) การรักษาความสะอาดของถนน ทางน้ำ ทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัดขยะมูลฝอยและ สิ่งปฏิกูล
       (3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
       (4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
       (5) ส่งเสริมการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
       (6) ส่งเสริมการพฒนาสตร ั ีเด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุและพิการ
       (7) คุ้มครอง ดูแลและบํารุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       (8) บํารุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
       (9) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่ทางราชการมอบหมาย
3. มีหน้าที่ที่อาจทํากิจกรรมในเขต อบต. ตามมาตรา 68 ดังนี้
       (1) ให้มีน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและการเกษตร
       (2) ให้มีและบำรุงไฟฟ้าหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
       (3) ให้มีและบํารุงรักษาทางระบายน้ำ
       (4) ให้มีและบำรุงสถานที่ประชุม การกีฬา การพักผ่อนหย่อนใจและสวนสาธารณะ
       (5) ให้มีและส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรและกิจการสหกรณ ์
       (6) ส่งเสริมให้มีอุตสาหกรรมในครอบครัว
       (7) บำรุงและส่งเสริมการประกอบอาชีพ
       (8) การคุ้มครองดูแลและรักษาทรัพย์สินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
       (9) หาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบต.
       (10) ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือ และท่าข้าม
       (11) กิจการเกี่ยวกับการพาณิชย์
       (12) การท่องเที่ยว
       (13) การผังเมือง

       อำนาจหน้าที่ตามแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ  พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่น พ.ศ. 2542  กำหนดให้ อบต. มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตาม มาตรา 16 ดังนี้
1. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
2. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบกทางน้ำ และทางระบายน้ำ
3. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ  
4. การสาธารณูปโภค และการกอสร้างอื่นๆ
5. การสาธารณูปการ
6. การส่งเสริมการฝึกและการประกอบอาชีพ
7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
8. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
9. การจัดการศึกษา
10. การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรีคนชรา และผู้ด้อยโอกาส
11. การบำรุงรักษาศิลปะ จารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
12. การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัด และการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
13. การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
14. การส่งเสริมกีฬา
15. การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาค และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
16. ส่งเสริมการมีสวนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
17. การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
18. การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และน้ำเสีย
19. การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
20. การจัดให้มีและควบคุมสุสาน และฌาปนสถาน
21. การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
22. การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
23. การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ และสาธารณสถานอื่นๆ
24. การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
25. การผังเมือง
26. การขนส่ง และการวิศวกรรมจราจร
27. การดูแลรักษาที่สาธารณะ
28. การควบคุมอาคาร
29. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
30. การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสรมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความปลอกภัยในชีวิต และทรัพย์สิน
31. กิจการอื่นใด ที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด

       อบต. มีความสำคัญต่อชุมชน (หมู่บ้าน/ตำบล) ดังนี้
1. เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่พัฒนาตำบล ให้เจริญก้าวหน้าทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
2. เป็นหน่วยประสานทรัพยากรระหว่าง อบต. กับท้องถิ่นอื่นๆ รวมทั้งหน่วยราชการ และหน่วยงานเอกชน อื่นๆ
3. เป็นเวทีประชาธิปไตยของประชาชนในการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่น (สมาชิกสภา อบต.) เข้าไปมี
ส่วนร่วมในการตัดสินใจใช้งบประมาณ รายได้ทรัพย์สินและระดมทุนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น
4. เป็นการส่งเสริมและพัฒนาคนในท้องถิ่น ให้ทำงานเพื่อท้องถิ่นของตนก่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นใน ท้องถิ่น เช่น สมาชิกสภา อบต. พนักงานและลูกจ้างของ อบต.
5. ส่งเสริมสิทธิและหน้าที่ของประชาชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นตรวจสอบการทำงานและใช้สิทธิ ถอดถอน ผู้แทนของตน (สมาชิกสภา) ที่ไม่ทำงานเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น

ประชาชนมีความสำคัญอย่างไรต่อ อบต.
       การทำให้ประชาชนเกิดความผาสุก มีความเป็นอยู่ที่ดีได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองความต้องการเป็นเป้าหมายของ อบต.  เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินงานกับ อบต. ด้วย ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
(1) คัดเลือกคนดีมีความรู้ความสามารถเหมาะสมเข้าไปมีหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติของ อบต. คือ สมาชิกสภา อบต. และฝ่ายบริหาร อบต. คือ นายก อบต. ด้วยการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนตามกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น
(2) เข้าไปบริหารงาน อบต. โดยตรง ด้วยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิก อบต. หรือนายก อบต.
(3) ลงคะแนนถอดถอนสมาชิกสภา อบต. หรือนายก อบต. ตามที่กฎหมายกำหนดหากเห็นว่าผู้นั้นไม่ สมควรดำรงตำแหน่งต่อไป
(4) เข้าชื่อกันเสนอให้สภา อบต. ออกข้อบัญญัติ อบต. ตามที่กฎหมายกำหนด
(5) เข้าฟังการประชุมสภา อบต. อย่างสม่ำเสมอ
(6) ติดตามข้อมูลข่าวสารของ อบต. อย่างสม่ำเสมอ ร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ อบต. จัดขึ้น ตรวจสอบการทำงานและพฤติกรรมของบุคลากร อบต. ให้คำแนะนำหรือสนับสนุนการดำเนินงานของ อบต.
(7) ร่วมจัดทำแผนพัฒนาของ อบต. ทั้งแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลของ อบต.
(8) ร่วมเป็นคณะกรรมการในการจัดซื้อ หรือการจัดจ้างโครงการต่างๆ ของ อบต. ทั้งโดยวิธีสอบราคา ประกวดราคา หรือวิธีพิเศษของ อบต. อย่างน้อยคณะละ 2 คน
(9) ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง และข้อบัญญัติของ อบต.
(10) เสียภาษีให้แก่ อบต. อย่างครบถ้วน
(11) ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองจากการกระทำฝ่าฝืนต่อความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของ ประชาชนหรือละเลยไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติการไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ของนายก อบต. รองนายก อบต. ประธานสภา อบต. หรือรองประธานสภา อบต. หากมีพฤติกรรมดังกล่าว นายอำเภอจะดำเนินการสอบสวนแล้ว รายงานผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่ง
(12) ประชาชนจะได้รับการแก้ไขปัญหา พัฒนาความเป็นอยู่และได้รับการบริการสาธารณะจาก อบต. ตามอำนาจหน้าที่ของ อบต.

 

ข่าว ณ. วันที่ 27 เม.ย. 2564 เวลา 10.14 น. โดย พีระประภา@naxsolution.com

ผู้เข้าชม 108 ท่าน

 
 
 
 
 
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี 18000
โทรศัพท์ : 081-851-7198 โทรสาร : 036-710-772 ต่อ 17
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน
จัดทำโดย : NAXsolution.com
 
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล | แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10